กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ 4 หน่วยงานหลัก สร้างความเข้มแข็งอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีนและชีววัตถุ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ 4 หน่วยงานหลัก สร้างความเข้มแข็งอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีนและชีววัตถุ
กรม
วิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
บริษัทองค์การเภสัชกรรม เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด และบริษัท
ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด
ร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีนและชีววัตถุของประเทศ
ให้มีความเข้มแข็ง
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์วัคซีนและชีววัตถุในระดับสากล
และสร้างศักยภาพของประเทศในการพึ่งพาตนเอง
นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการควบคุมป้องกันและรักษาโรคติดต่อ ตัวอย่างเช่น วัคซีน ในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์วัคซีนและชีววัตถุ จำเป็นต้องมีวัคซีนหรือชีววัตถุมาตรฐานเป็นสารอ้างอิงที่สำคัญ ทดสอบควบคู่ไปกับผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบัน ชีววัตถุ จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานหลักอื่นๆ ร่วมกันพัฒนาการจัดเตรียมชีววัตถุมาตรฐานให้ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์เพื่อจะ ช่วยสนับสนุนการควบคุมคุณภาพวัคซีนและชีววัตถุในประเทศให้มีคุณภาพ ลดปัญหาความแตกต่างของผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ สร้างความเชื่อมั่นในผลการทดสอบให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยปัจจัยหนึ่งที่จะให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ชี ววัตถุ คือชีววัตถุมาตรฐานที่ใช้เป็นสารอ้างอิงในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกจะผลิต ชีววัตถุมาตรฐานสากลขึ้น เพื่อแจกจ่ายหรือขายให้กับหน่วยงานควบคุมคุณภาพภาครัฐ และผู้ผลิต แต่ปริมาณที่ได้จะถูกจำกัดในแต่ละประเทศ องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้แต่ละประเทศจัดเตรียมชีววัตถุมาตรฐานขึ้นมาใช้ เองในห้องปฏิบัติการ
" สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำเป็นต้องใช้ชีววัตถุมาตรฐานทั้งในขั้นตอนของการขึ้นทะเบียน การควบคุมรุ่นการผลิต ตลอดจนการเฝ้าระวังหลังจำหน่าย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประกันและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ ดังนั้นความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยในการร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีน และชีววัตถุของประเทศให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่งผลให้ประชาชนได้รับวัคซีนและชีววัตถุที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ" นายแพทย์สุขุมกล่าว
ด้าน นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรมได้เริ่มดำเนินการผลิตชีววัตถุตั้งแต่ปี พ.ศ.2489 ในขณะที่ยังมีฐานะเป็นโรงงานเภสัชกรรม เพื่อค้นคว้าวิจัย และผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ(smallpox Vaccine) ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงระบาดไปทั่วโลกในขณะนั้น จนสามารถผลิตเพื่อสนองความต้องการของประเทศ และมีส่วนช่วยในการร่วมรณรงค์กับทุกประเทศทั่วโลกในการกวาดล้างไข้ทรพิษให้ หมดไปจากโลกได้ หลังจากการก่อตั้งองค์การเภสัชกรรม จึงได้มีการยกระดับเป็นฝ่ายชีววัตถุ ดำเนินการผลิตวัคซีน เซรุ่มแก้พิษงู และเซรุ่มแก้พิษบาดทะยัก ตลอดจนจัดหาวัคซีน เพื่อใช้ในโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในคน ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่ทำการผลิตวัคซีนตั้งแต่ในขั้นต้นจนเป็นวัคซีนสำเร็จรูป
ใน ด้านการประกันคุณภาพชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรมมีความจำเป็นต้องจัดหาสารมาตรฐานอ้างอิงสำหรับใช้ในการตรวจ สอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ในแต่ละขั้นตอน เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตให้มีความสม่ำเสมอ และเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน นอกจากนี้ยังใช้ในการตรวจติดตามความคงตัวและแนวโน้มด้านคุณภาพ เพื่อการเฝ้าระวังหลังการจำหน่ายและพัฒนาคุณภาพสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ ผลิตในอนาคต
ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อไปว่า การลงนามในครั้งนี้ จะช่วยลดข้อจำกัดด้านปริมาณสารมาตรฐานอ้างอิงที่ใช้ และสร้างความเชื่อมั่นในผลการทดสอบ สนับสนุนการควบคุมคุณภาพวัคซีนและชีววัตถุในประเทศ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ
“ผลิต ภัณฑ์ชีววัตถุขององค์การเภสัชกรรม ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่องค์การเภสัชกรรมดำเนินการผลิตเพื่อตอบสนองความ ต้องการของกระทรวงสาธารณสุข ตามแผนการรณรงค์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเป็นหลักโดยไม่มุ่งหวังผลกำไร” ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมกล่าว
หน้าแรก
การให้บริการ
- ขั้นตอนการให้บริการ
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ
- ประชุมผู้ประกอบการ
- รายการตรวจสอบคุณภาพ
- การฝึกอบรม
- รายการทดสอบที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
- ชีววัตถุอ้างอิงมาตรฐานที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 17034
- ระบบบริหารงานคุณภาพที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9001
- เกณฑ์การตัดสินผล (Decision Rule)
- ระบบค้นหาชีววัตถุที่ผ่านการรับรองรุ่นการผลิต
- การรักษาความลับและความเป็นกลาง
- Golden Book